วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550

ส่งบทความอินเตอร์เน็ต


บริการสนทนาออนไลน์
บริการสนทนาออนไลน์ หรือที่เรียกว่า Chat (IRC - Internet Relay Chat) หรือเรียกว่า Talk เป็นบริการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในปัจจุบัน โดยผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบ (ทั้งโดยการพิมพ์ และพูด) กับผู้อื่นๆ ในเครือข่ายได้ในเวลาเดียวกัน
ปัจจุบันบริการนี้ ได้นำมาประยุกต์ใช้กับการประชุมทางไกล (VDO Conference) โดยอาศัยอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น กระดานสนทนา, ไมโครโฟน, กล้องส่งภาพขนาดเล็กเป็นต้น

โปรแกรมที่นิยมใช้กันได้แก่ Pirch, ICQ, Microsoft NetMeeting, InternetPhone






กระดานข่าว
กระดานข่าว หรือ Bulletin Board Sytem (BBS) เป็นบริการข่าวสารรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์ ของเครือข่าย ตามหมวดหมู่ที่มีการกำหนดไว้ หรืออาจจะกำหนดเพิ่มเติมก็ได้ ที่เรียกว่ากลุ่มข่าว (Newsgroup) เช่น กลุ่มผู้สนใจด้านศิลปะ, ด้านโปรแกรม เป็นต้น
ปัจจุบันเป็นบริการหนึ่งที่นิยม และมีการปรับรูปแบบให้อยู่ในรูปของเอกสาร HTML ทำให้สามารถเรียกดู และใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว






กระดานข่าว
กระดานข่าว หรือ Bulletin Board Sytem (BBS) เป็นบริการข่าวสารรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์ ของเครือข่าย ตามหมวดหมู่ที่มีการกำหนดไว้ หรืออาจจะกำหนดเพิ่มเติมก็ได้ ที่เรียกว่ากลุ่มข่าว (Newsgroup) เช่น กลุ่มผู้สนใจด้านศิลปะ, ด้านโปรแกรม เป็นต้น
ปัจจุบันเป็นบริการหนึ่งที่นิยม และมีการปรับรูปแบบให้อยู่ในรูปของเอกสาร HTML ทำให้สามารถเรียกดู และใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว











แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต
เป็นที่แน่นอนแล้วว่าในอนาคต อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีส่วนร่วมกับชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น และจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรูปแบบใหม่ ดังนี้
การคุยโทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Voice over IP)ซึ่งปัจจุบันองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ก็นำมาใช้ผ่านหมายเลข 1234 ทั่วประเทศ (ต้นปี 2545)
การคุยระยะไกลแบบมีภาพและเสียงของคู่สนทนา
(Voice conference)
การนำอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์กับเครือข่ายเคเบิ้ลทีวี
(Web TV & Cable MODEM)
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน (Internet Device)







Emoticon
Emoticon เป็นสัญลักษณ์ที่คิดค้นเพื่อให้การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการ Chat กระทำได้ง่ายและสะดวก โดยสัญลักษณ์แต่ละชิ้น จะแทนการแสดงออกทางอารมณ์ลักษณะต่างๆ และเป็นการเพิ่มลูกเล่นให้กับการสื่อสาร สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันได้

:-)
ยิ้ม
;-)
ยิ้มและขยิบตา
:-(
หน้านิ่วคิ้วขมวด
:-
ยิ้มแบบเจื่อนๆ
:->
อยู่ในอารมย์ขันเล็กๆ
>:->
อยู่ในอารมย์ไม่ชอบ
>;->
ไม่ชอบเป็นอย่างมาก
>:-C
โกรธแล้วน่ะ
:)
ฝืนๆ ยิ้ม
(-:
สัญลักษณ์ของคนถนัดมือซ้าย
-o
กำลังหาว
-
ง่วงนอน
:-/
งง
<>
ไม่มีข้อคิดเห็นใดๆ
<>
หัวเราะ
:-x
ห้ามพูด, ถูกปิดปาก
:-P
แลบลิ้น
:-9
กำลังชำเลือง, หรือค้อนให้
C=:-)
เป็นกุ๊กในครัว
*<:-) เป็นนางฟ้า O:-) เป็นซานตาครอส :-@ ตระโกน :-O โอ้โฮ [:-) ฟังเพลง (สวมหูฟัง) :-* เปรี้ยวปาก :-)~ พ่นน้ำลาย :~) เป็นหวัด :'-) ร้องไห้ด้วยความสุข :-D หัวเราะใส่กัน 8-O โอ้มายก๊อด :---} พูดโกหก (จมูกยาว) บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ANET
ASIA ACCESS
Asia Infonet
CS Internet
Cwn
Far East Internet
Idea Net
Ji-NET
Internet Thailand
Internet KSC
Data Line Thai
Samart Online
Siam Global Access
Pacific Internet (Thailand)
E-Z Net Company
Roynet Public Co., Ltd
Cable & Wireless Services (Thailand) Limited
Loxley






Cybersquatter

Cybersquatter หมายถึง บุคคลที่คิดหากำไรทางลัด โดยการนำเอาเครื่องหมายการค้า หรือชื่อทางการค้าที่มีชื่อเสียง มาจดเป็นโดเมนเนม โดยเจ้าของไม่อนุญาต รวมถึงการจดไว้เพื่อขายต่อให้กับเจ้าของชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าที่แท้จริง

















หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอื่นๆ


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย
โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
สายโทรศัพท์ทองแดง
โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป
นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai
Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)
ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25
นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP
เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ"
หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535
ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเทอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF)
และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537
AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร
ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย"










การป้องกันข้อมูลไม่พึงประสงค์บนเว็บ
เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตเป็นระบบเปิดที่อนุญาตให้ผู้ใดก็ได้ที่สนใจ สามารถนำเสนอได้อย่างอิสระ ทำให้ข้อมูลบนเครือข่าย มีหลากหลาย ทั้งคุณ และโทษ การกลั่นกรองเนื้อหาที่เหมาะสมให้กับเยาวชน เป็นเรื่องที่กระทำได้ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตามก็พอจะมีเทคนิคหรือวิธีการกลั่นกรองเนื้อหา ได้ดังนี้
การกลั่นกรองที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
การกลั่นกรองในส่วนของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
การกลั่นกรองที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
การกลั่นกรองที่เครื่องของผู้ใช้มีจุดเด่นที่กระทำได้ง่าย รวดเร็ว แต่อาจจะกลั่นกลองได้ไม่ครบทั้งหมด และข้อมูลที่กลั่นกรองอาจจะครอบคลุมถึงเนื้อหาที่มีสาระประโยชน์ได้ด้วย เช่นต้องการป้องกันเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Sex ก็อาจบล็อกเว็บไซต์การแพทย์ที่ให้คำแนะนำด้านเพศศึกษาไปด้วยก็ได้
วิธีการนี้กระทำได้โดย
วิธีที่ 1. กำหนดค่า Security และระดับของเนื้อหา ผ่านเบราเซอร์ IE ด้วยคำสั่ง Tools, Internet Options แล้วกำหนดค่าจากบัตรรายการ Security หรือ Content
วิธีที่ 2. ติดตั้งโปรแกรมที่ทำหน้าที่สกัดกั้นการเข้าสู่เว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์ โดยผู้ใช้สามารถกำหนดรายการเว็บไซต์ได้ตามที่ต้องการ โดยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้แก่
· Net Nanny
· Surfwatch
· Cybersitter
· Cyberpatrol
การกลั่นกรองที่ระบบของผู้ให้บริการ (ISP)
เป็นระบบที่เรียกว่า Proxy โดยจะทำหน้าที่ตรวจจับข้อมูลเนื้อหาที่ไม่พึงประสงค์ ตามรายการที่ระบุไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าไปยังผู้ใช้ ซึ่งมีผลต่อลูกค้าของผู้ให้บริการทุกราย ซึ่งถือว่าเป็นการคลุมระบบทั้งหมด แต่ก็มีข้อเสียคือ ระบบจะทำงานหนักมาก เนื่องจากต้องคอยตรวจสอบการเรียกดูเว็บไซต์จากผู้ใช้ทุกราย และเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ใช้บริการด้วย



อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่น ข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ หน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ ได้แก่
Hacker & Cracker อาชญากรที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลกระทบต่อสังคมไอทีเป็นอย่างยิ่ง
บุลากรในองค์กร หน่วยงานคุณไล่พนักงานออกจากงาน, สร้างความไม่พึงพอใจให้กับพนักงาน นี่แหล่ะปัญหาของอาชญกรรมได้เช่นกัน
Buffer overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัยช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ และขีดจำกัดของทรัพยากรระบบมาใช้ในการจู่โจม การส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้เครื่องไม่สามารถรันงานได้ตามปกติ หน่วยความจำไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดการแฮงค์ของระบบ เช่นการสร้างฟอร์มรับส่งเมล์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผู้ไม่ประสงค์อาจจะใช้ฟอร์มนั้นในการส่งข้อมูลกระหน่ำระบบได้
Backdoors นักพัฒนาเกือบทุกราย มักสร้างระบบ Backdoors เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งหากอาชญากรรู้เท่าทัน ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Backdoors นั้นได้เช่นกัน
CGI Script ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมมากในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส มักเป็นช่องโหว่รุนแรงอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
Hidden HTML การสร้างฟอร์มด้วยภาษา HTML และสร้างฟิลด์เก็บรหัสแบบ Hidden ย่อมเป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้กับอาชญากรได้เป็นอย่างดี โดยการเปิดดูรหัสคำสั่ง (Source Code) ก็สามารถตรวจสอบและนำมาใช้งานได้ทันที
Failing to Update การประกาศจุดอ่อนของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับปรุงเป็นทางหนึ่งที่อาชญากร นำไปจู่โจมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เช่นกัน เพราะกว่าที่เจ้าของเว็บไซต์ หรือระบบ จะทำการปรับปรุง (Updated)
ซอตฟ์แวร์ที่มีช่องโหว่นั้น ก็สายเกินไปเสียแล้ว
Illegal Browsing ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ย่อมหนีไม่พ้นการส่งค่าผ่านทางบราวเซอร์ แม้กระทั่งรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งบราวเซอร์บางรุ่น หรือรุ่นเก่าๆ ย่อมไม่มีความสามารถในการเข้ารหัส หรือป้องกันการเรียกดูข้อมูล นี่ก็เป็นอีกจุดอ่อนของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน
Malicious scripts ก็เขียนโปรแกรมไว้ในเว็บไซต์ แล้วผู้ใช้เรียกเว็บไซต์ดูบนเครื่องของตน มั่นใจหรือว่าไม่เจอปัญหา อาชญากรอาจจะเขียนโปรแกรมแผงในเอกสารเว็บ เมื่อถูกเรียก โปรแกรมนั่นจะถูกดึงไปประมวลผลฝั่งไคลน์เอ็นต์ และทำงานตามที่กำหนดไว้อย่างง่ายดาย โดยเราเองไม่รู้ว่าเรานั่นแหล่ะเป็นผู้สั่งรันโปรแกรมนั้นด้วยตนเอง น่ากลัวเสียจริงๆๆ
Poison cookies ขนมหวานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ตามแต่จะกำหนด จะถูกเรียกทำงานทันทีเมื่อมีการเรียกดูเว็บไซต์ที่บรรจุคุกกี้ชิ้นนี้ และไม่ยากอีกเช่นกันที่จะเขียนโปรแกรมแฝงอีกชิ้น ให้ส่งคุกกี้ที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ส่งกลับไปยังอาชญากร
ไวรัสคอมพิวเตอร์ ภัยร้ายสำหรับหน่วยงานที่ใช้ไอทีตั้งแต่เริ่มแรก และดำรงอยู่อย่างอมตะตลอดกาล ในปี 2001 พบว่าไวรัส Nimda ได้สร้างความเสียหายได้สูงสุด เป็นมูลค่าถึง 25,400 ล้าบบาท ในทั่วโลก ตามด้วย Code Red, Sircam, LoveBug, Melissa ตามลำดับที่ไม่หย่อนกว่ากัน
เห็นไหมครับว่าปัญหาของโลกไอที มีหลากหลายมาก การทำนายผลกระทบที่มีข้อมูลอ้างอิงอย่างพอเพียง การมีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ คงจะช่วยให้รอดพ้นปัญหานี้ได้บ้างน่ะครับ
Ethernet
Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ ปัจจุบัน Ethernet ได้พัฒนาไปมาก เป็น Fast Ethernet ที่ส่งข้อมูลได้ 100 Mbps และ Gigabit Ethernet



Leased Line
วงจรเช่า หรือคู่สายเช่า (Leased Line) เป็นวงจรเหมือนวงจรโทรศัพท์ ที่มีการกำหนดต้นทาง และปลายทางที่แน่นอน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องหมุนเบอร์ของปลายทางเมื่อต้องการติดต่อ โดยอาจจะเป็นการติดต่อด้วย Fiber Optics หรือดาวเทียมก็ได้ ปัจจุบันนำมาใช้เป็นสัญญาณเชื่อมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง เนื่องจากเป็นอิสระจากคนอื่น ด้วยความเร็วตั้งแต่ 9600, 64, 128 kbps, 34 Mbps ระบุต้นทางและปลายทางชัดแบบ Leased Line เรียกว่าการส่งข้อมูลแบบ Circuit Switching ซึ่งมีข้อเสียคือ หากไม่มีการใช้สัญญาณในเวลาใดๆ ก็จะเสียคุณค่า และประสิทธิภาพของวงจรสื่อสายโดยรวมไปแบบสูญเปล่า
การเลือกใช้ Leased Line ต้องพิจารณาจากผู้ให้บริการ, ความเร็ว และชนิดของสื่อ





Frame Relay
Frame Relay เป็นบริการทางเครือข่ายชนิดหนึ่ง สำหรับเชื่อมต่อ LAN หรือเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป ที่อยู่ห่างกัน โดยพัฒนามาจากเทคโนโลยี X.25 เป็นเครือข่ายระบบดิจิทัลที่มีอัตราความผิดพลาดของข้อมูลต่ำ มีระบบตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูลที่ปลายทาง ส่งข้อมูลได้เร็ว ประหยัดเวลา ลักษณะการส่งข้อมูลดีกว่า Leased Line เนื่องจากเป็นแบบ packet switching คือไม่มีการจองวงจรสื่อสารไว้ส่วนตัว ข้อมูลแต่ละคนจะถูกแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ เรียกว่า packet และส่งเข้าไปในเครือข่าย เพื่อส่งต่อไปยังปลายทาง ทำให้เครือข่ายเป็นเครือข่ายรวม ใช้เครือข่ายได้อย่างคุ้มค่า






การเลือกใช้ Frame Relay จะต้องพิจารณาค่าความเร็วที่รับประกันว่าจะได้รับขั้นต่ำ (CIR: Committed Information Rate) และค่าความเร็วที่ส่งได้มากที่สุด กรณีวงจรสื่อสารรวมมีที่เหลือ (MIR: Maximum Information Rate) เช่น ถ้า Frame Relay มีค่า CIR 64kbps หมายความว่า เราสามารถส่งข้อมูลได้ไม่น้อยกว่า 64 kbps ในทุกกรณี และหากข้อมูลที่จะส่งใหญ่กว่า 64 kbps เครือข่ายก็ยังสามารถรองรับได้ ตราบใดยังไม่เกินค่า MIR













การสื่อสารแบบ Connection Oriented
การสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำได้โดยใช้กฏข้อบังคับที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) ซึ่งทำให้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถูกเรียกว่า เครือข่าย IP นอกจากกฎ IP ใน OSI Model ของเครือข่าย ยังมีกฏ TCP (Transmission Control Protocol) ทั้งนี้ TCP จะเป็นการสื่อสารแบบ Connection Oriented คือมีลักษณะเหมือนกันส่งข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ ต้องมีการสร้าง Connection ก่อน (คล้ายหมุนเบอร์ปลายทาง) จึงจะส่งข้อมูล และเมื่อส่งข้อมูลเสร็จสิ้น ก็จะทำการยุติ Connection (วงหูโทรศัพท์)
ทั้งนี้เปรียบเสมือนการส่งข้อมูลทีละชิ้นไปเรื่อยๆ ผู้รับก็รับข้อมูลนั้นๆ ตามลำดับก่อนหลัง ทำให้เสียเวลาในจุดเริ่มต้น แต่การส่งมีความถูกต้อง และรับรองว่าปลายทางได้รับข้อมูล ลักษณะงานที่ติดต่อแบบ TCP ก็คือ e-mail, WWW, FTP




การสื่อสารแบบ Connectionless
นอกจากกฏ IP และ TCP ยังมีกฏ UDP (User Datagram Protocol) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ Connectionless คือข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นชิ้นๆ ตามที่อยู่ปลายทาง แล้วผ่านตัวกลางไปยังปลายทาง อาจจะใช้เส้นทางคนละเส้นทางกันก็ได้ รวมทั้งข้อมูลแต่ละชิ้นอาจจะถึงก่อนหลังแตกต่างกันไปได้ด้วย ทำให้การเริ่มต้นส่งทำได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาสร้าง Connection แต่ก็มีจุดอ่อนคือ ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ข้อมูลถึงปลายทางอย่างถูกต้อง ตัวอย่างงานที่ใช้การสื่อสารแบบ UDP คือ การส่งสัญญาณเสียงดิจิทัล, Video








Off-line Browser
การเรียกดูข้อมูลโดยเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา แม้จะเป็นข้อมูลเดิม เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และอาจจะเป็นภาระได้ง่าย ด้วยเทคโนโลยี Off-line Browser จะช่วยตรวจสอบ และดูดเนื้อหาบนเว็บไซต์มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เมื่อต้องการอ่านเนื้อหาเดิมซ้ำ ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต บางซอฟต์แวร์ในกลุ่มนี้ ยังตรวจสอบเนื้อหาใหม่ พร้อมปรับปรุงเนื้อหาในคอมพิวเตอร์ให้โดยอัตโนมัติ และบางรุ่นอาจจะให้ผู้ใช้กำหนดประเภท หรือหมวดเนื้อหาที่ต้องการตรวจสอบและปรับปรุงด้วย
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ได้แก่
Web Buddy (http://www.dataviz.com)
Freeloader (http://www.freeloader.com)
Web Whacker (http://www.ffg.com)
Surfbot (http://www.surflogic.com)
WSmart bookmarks (http://www.firstfloor.com)
Net Attache Light (http://www.tympani.com)
Milktruck (http://www.travsoft.com)
BackWeb (http://www.backweb.com)



















เรียกดูเว็บไซต์
การใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนี้คงหนีไม่พ้นการเรียกดูเว็บไซต์ (Website) หรือข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงาน องค์กร กลุ่มบุคคล หรือบุคคลได้จัดทำ และเผยแพร่ไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเป็น ข้อมูลที่มีการนำเสนอทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว มีสีสันสวยงามน่าสนใจ
การเรียกดูเว็บไซต์ มีขั้นตอนดังนี้
เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนโปรแกรม Internet Explorer

ปรากฏหน้าต่างโปรแกรม ดังนี้
หมายเหตุ ข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าต่างโปรแกรม อาจจะแตกต่างออกไปได้ ตามแต่ค่าติดตั้งของคอมพิวเตอร์นั้นๆ
รายการใดๆ ที่เมื่อนำเมาส์ไปชี้ แล้วเมาส์เปลี่ยนรูปร่างจาก เป็น แสดงว่าสามารถคลิกเมาส์ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้
เมื่อคลิกเลือกดูข้อมูล สามารถกลับมายังจอภาพก่อนหน้า ได้โดยคลิกที่ปุ่ม
ต้องการกลับไปจอภาพแรกที่ปรากฏตอนเริ่มโปรแกรม ให้คลิกปุ่ม

โทษของอินเทอร์เน็ต
โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งซื้อขายประกาศของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ
อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
เติบโตเร็วเกินไป
ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อนใหม่
ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้




โรคติดอินเทอร์เน็ต
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ
ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
ใช้เป็นอินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย
ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป



การใช้อินเทอร์เน็ตในสำนักงาน
สำนักงานหรือหน่วยงานต่างๆ คงมีการจัดทำระบบเครือข่ายภายในหน่วยงาน ไว้พร้อมให้บริการสำหรับผู้บริหาร หรือพนักงาน ซึ่งโดยปกติแล้วผู้บริหาร หรือผู้ใช้งานเทียบจะไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการเชื่อมต่อใดๆ ทั้งสิ้น ผู้บริหาร หรือผู้ใช้เพียงแต่เปิดคอมพิวเตอร์ ระบบที่สำนักงานติดตั้งไว้ ก็จะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้โดยอัตโนมัติ (บางหน่วยงานอาจจะต้องพิมพ์ชื่อและรหัสผ่าน ก่อนเข้าสู่ระบบใช้งาน ตามแต่ระบบของแต่ละหน่วยงาน) ทั้งนี้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน มักจะเชื่อมต่อกับระบบของหน่วยงานโดยผ่านระบบแลน (LAN: Local Area Network) ทางการ์ดแลน (LAN Card)
ดังนั้นการใช้อินเทอร์เน็ตในสำนักงาน ก็พอจะสรุปขั้นตอนได้ดังนี้
ติดต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบ (System Administrator) เพื่อขอสิทธิ์ในการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต พร้อมรับบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน (Internet Account & Password)
เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเข้ากับระบบเครือข่ายภายในหน่วยงาน
เปิดคอมพิวเตอร์ แล้วเข้าสู่ระบบการใช้งาน
ใช้งานอินเทอร์เน็ต


การใช้อินเทอร์เน็ต กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
การใช้อินเทอร์เน็ตกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากกว่า เพราะผู้บริหาร หรือผู้ใช้มักจะต้องดำเนินการติดตั้งค่าควบคุมต่างๆ ด้วยตนเอง แต่ก็พอจะสรุปขั้นตอนได้คร่าวๆ ดังนี้
ติดตั้งโมเด็ม (MODEM) เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน
สมัครสมาชิกการใช้อินเทอร์เน็ต
สมาชิกภายในหน่วยงาน – หน่วยงานบางหน่วยงานอาจจะมีบริการอินเทอร์เน็ตให้กับบุคลากร โดยบุคลากรที่เป็นสมาชิกสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตที่บ้าน หรือภายนอกหน่วยงานโดยการหมุนโทรศัพท์เชื่อมต่อระบบเข้ามาที่หน่วยงานก็ได้
สมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ในประเทศ – ประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP: Internet Service Provider) 18 ราย (ปี 2545) ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้บริการจาก ISP รายได้ก็ตามตามความชอบ และราคาที่สนใจ
เมื่อเป็นสมาชิกการใช้อินเทอร์เน็ต ไม่ว่าลักษณะใด ก็จะได้รับบัญชีการใช้อินเทอร์เน็ต และรหัสผ่าน (Internet Account & Password) พร้อมคู่มือการใช้งานระบบ
บัญชีและรหัสผ่านในการใช้อินเทอร์เน็ต เป็นข้อมูลสำคัญ ไม่ควรเปิดเผยต่อบุคคลอื่น
เชื่อมสายโทรศัพท์เข้ากับ MODEM และเชื่อมสาย MODEM เข้ากับคอมพิวเตอร์
เปิดใช้งานคอมพิวเตอร์
ติดตั้งค่าจำเป็นตามคู่มือการใช้งาน
เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต












ชื่อเรียกเว็บไซต์
การใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนี้คงหนีไม่พ้นการเรียกดูเว็บไซต์ (Website) หรือข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงาน องค์กร กลุ่มบุคคล ชื่อเรียกเว็บไซต์ (URL: Uniform Resource Locator) เป็นชื่อที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้อ้างอิงการเรียกข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะเป็นภาษาอังกฤษเรียงกันเป็นช่วงๆ 3 – 5 ช่วง แต่ละช่วงคั่นด้วยเครื่องหมายจุดทศนิยม (เรียกว่า Dot) เช่น
เว็บไซต์ของรัฐบาลไทย www.thaigov.go.th
เว็บไซต์เครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ เนคเทค www.thaigov.net
เว็บไซต์ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง www.nitc.go.th/cio
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ www.thairath.com
ชื่อเรียกเว็บไซต์ หรือ URL จะมีหลักในการใช้งาน โดยยึดผังดังนี้

บันทึกชื่อเรียกเว็บไซต์
ชื่อเรียกเว็บไซต์ของหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน มักจะยาว และก่อให้เกิดปัญหาในการจำ เมื่อจำเป็นต้องใช้เว็บไซต์หลายๆ เว็บไซต์ โปรแกรม Internet Explorer ได้ช่วยแก้ปัญหานี้ โดยเตรียมคำสั่งบันทึกชื่อเว็บไซต์ที่ผู้ใช้ใช้บ่อยๆ เพื่อให้สะดวกต่อการเรียกใช้งาน ผ่านทางคำสั่ง Favorite หรือ Bookmark (Netscape)
เว็บไซต์ที่บันทึกไว้ใน Favorites สามารถเรียกดูได้สะดวก รวดเร็ว เพียงแต่คลิกเลือกคำสั่ง Favorites แล้วเลื่อนเมาส์หาเว็บไซต์ที่ต้องการจากรายการที่แสดง เมื่อคลิกที่ชื่อเว็บไซต์ที่บันทึกไว้ โปรแกรมจะเรียกเว็บไซต์นั้นๆ มาแสดงบนโดยอัตโนมัติ


บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย
ANET
ASIA ACCESS
Asia Infonet
CS Internet
Cwn
Far East Internet
Idea Net
Ji-NET
Internet Thailand
Internet KSC
Data Line Thai
Samart Online
Siam Global Access
Pacific Internet (Thailand)
E-Z Net Company
Roynet Public Co., Ltd
Cable & Wireless Services (Thailand







บัญญัติ 10 ประการด้านความปลอดภัยของเครือข่าย
1. ตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การเดา
2. เปลี่ยนรหัสผ่านสม่ำเสมอ เช่น ทุก 90 วัน
3. รันและปรับปรุงโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลา
4. ให้ความรู้แก่บุคลากรในเรื่องความปลอดภัยในการรับไฟล์ หรือดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต เช่น อีเมล์, เว็บไซต์
5. ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับเครือข่ายอย่างสมบูรณ์
6. ประเมินสถานการณ์ของความปลอดภัยในเครือข่ายสม่ำเสมอ
7. ลบรหัสผ่าน และบัญชีการใช้ของพนักงานที่ออกจากหน่วยงานทันที
8. วางระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับการเข้าถึงระบบของพนักงานจากภายนอกหน่วยงาน
9. ปรับปรุง (Upgrade) ซอฟต์แวร์สม่ำเสมอ
10. ไม่รันเซอร์วิสบางตัวบนเครือข่าย อย่างไม่จำเป็น








หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอื่นๆ






























ไม่มีความคิดเห็น: